วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ม็อกซี หุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล

ม็อกซี หุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล
https://images.thaiza.com/31/31_20181010105320..jpg
    พบกับ "ม็อกซี" (Moxi) หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ประจำโรงพยาบาลที่มี "ความฉลาดทางสังคม"(social intelligence) ซึ่งจะมาช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพยาบาลในยุคที่ทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านพยาบาล
ม็อกซี พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Diligent Robotics ในเมืองออสตินรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯ มีความสามารถในการหยิบและนำส่งเวชภัณฑ์ได้เองอัตโนมัติ ซึ่งช่วยแบ่งเบางานของเหล่าพยาบาลที่อาจใช้เวลาถึง 30% ของการทำงานในแต่ละวันหมดไปกับการค้นหาและหยิบเวชภัณฑ์ที่ใช้รักษาคนไข้

ปัจจุบัน มีการนำ ม็อกซี ไปทดลองใช้ที่โรงพยาบาลหลายแห่งในรัฐเท็กซัส ดร.โคล เอ็ดมันสัน หัวหน้าพยาบาลของโรงพยาบาล Texas Health Dallas เล่าว่า หลังจากได้นำม็อกซีไปทดลองใช้ในโรงพยาบาลพบว่า หุ่นยนต์เอไอตัวนี้สามารถช่วยนำเวชภัณฑ์ไปส่งให้นางพยาบาลที่กำลังทำงานในห้องแยกโรค ซึ่งผู้ป่วยถูกแยกไปรักษาเดี่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่พวกเขาไม่ต้องถอดชุดที่ใส่ในห้องดังกล่าวเพื่อออกไปหยิบของเอง

ที่มา

เวทีเศรษฐกิจโลกสวนกระแส ชี้หุ่นยนต์จะช่วยสร้างงานเพิ่ม


เวทีเศรษฐกิจโลกสวนกระแส ชี้หุ่นยนต์จะช่วยสร้างงานเพิ่ม
หุ่นยนต์อาจช่วยสร้างงานเพิ่มอีกสองเท่า
    รายงานล่าสุดของคณะผู้จัดการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum - WEF) ระบุว่าหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์นั้นไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงทางแรงงานของมนุษย์ โดยเทคโนโลยีอันทันสมัยจะไม่ทำให้ผู้คนต้องตกงาน แต่กลับจะช่วยสร้างตำแหน่งงานขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก คิดเป็นสองเท่าของตำแหน่งที่ใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่มนุษย์
รายงานดังกล่าวชี้ว่า จะมีตำแหน่งงานใหม่เกิดขึ้นถึง 133 ล้านตำแหน่ง ภายในช่วงกลางทศวรรษหน้า เนื่องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่คาดการณ์ว่าจะมีตำแหน่งงานของมนุษย์ที่ถูกเครื่องจักรเข้าแทนที่ 75 ล้านตำแหน่ง ซึ่งถือว่าน้อยกว่ากันมาก
เนื้อหาของรายงานนี้เป็นไปในทิศทางที่มุ่งคลายความวิตกกังวลของสังคม ในประเด็นที่หวั่นเกรงกันว่าระบบเศรษฐกิจในอนาคตที่ใช้หุ่นยนต์เป็นตัวขับเคลื่อน จะทำให้ผู้คนนับล้านต้องตกงาน ทั้งเกิดปัญหาด้านค่าแรง คุณภาพชีวิต และความเหลื่อมล้ำกระจายออกไปเป็นวงกว้างในบรรดากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

ที่มา
ข้อมูล,รูปภาพ: https://www.bbc.com/thai/international-45544351





ผู้ป่วยอัมพาตเดินได้อีกครั้ง ด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าฝังติดกระดูกสันหลัง


ผู้ป่วยอัมพาตเดินได้อีกครั้ง ด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าฝังติดกระดูกสันหลัง
นางสาวเคลลี โทมัส วัย 23 ปีเดินได้อีกครั้ง หลังใช้อุปกรณ์กระตุ้นด้วยไฟฟ้า
    คณะนักวิจัย 2 ทีมจากมหาวิทยาลัยลุยส์วิลล์และศูนย์การแพทย์เมโยคลินิกในสหรัฐฯ ประกาศความสำเร็จในการใช้อุปกรณ์กระตุ้นสัญญาณประสาทด้วยไฟฟ้าซึ่งฝังติดกับกระดูกสันหลังว่า สามารถทำให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างจากอุบัติเหตุ 3 คนกลับมาเดินได้อีกครั้ง
อุปกรณ์ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายแผ่นแปะ ซึ่งยึดติดกับกระดูกสันหลังของผู้ป่วยอัมพาตตรงส่วนล่างของบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจนเสียหาย โดยแผ่นแปะนี้มีขั้วไฟฟ้าทั้งหมด 16 ขั้ว และได้รับพลังงานจากแบตเตอรีซึ่งฝังอยู่ในผนังหน้าท้อง
ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์นี้ได้ผ่านระบบไร้สาย โดยปรับความถี่และความแรงรวมทั้งระยะเวลาของการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อทำให้เซลล์ประสาทในกระดูกสันหลังตื่นตัว และไวต่อสัญญาณประสาทที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างสมองและกล้ามเนื้อขาได้มากขึ้น
ดร. คลอเดีย แอนเจลี หนึ่งในทีมผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยลุยส์วิลล์บอกว่า "ผู้ป่วยอัมพาตในกรณีนี้จะยังคงมีสัญญาณประสาทจากสมองที่ส่งผ่านข้ามจุดเสียหายบนกระดูกสันหลังไปยังกล้ามเนื้อขาได้อยู่บ้าง แต่สัญญาณที่ว่านั้นอ่อนมาก จึงต้องใช้การกระตุ้นจากอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อให้กระดูกสันหลังได้ยินคำสั่งที่เหมือนเสียงกระซิบจากสมองได้ดีขึ้น และสั่งการให้กล้ามเนื้อขาก้าวเดินได้เหมือนเดิม"

ที่มา
ข้อมูล,รูปภาพ : https://www.bbc.com/thai/international-45635959
เอกสารดาวโหลด

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เริ่มต้น

เว็บไซต์นี้จัดทำ
      ขึ้นเพื่อสะสม
               ผลงาน